เกร็ด Guitar zeed 11





เกร็ด Guitar Zeed 11

       สวัสดีอีกครั้งกับชาว Guitar Zeed นะครับ แน่นอนว่า ก่อนที่นักเรียนจะได้มาพบกับครูเอ็มนั้น ครูเชื่อว่าในวัยเด็กของพวกเราทุกคน  คุณพ่อคุณแม่ย่อมสรรหาสิ่งที่ดีที่สุด ต่อการพัฒนาการด้านความสามารถและสติปัญญาของพวกเราตามลำดับแน่นอน รวมทั้งการมาเรียนกีตาร์กับครูเอ็มก็คงเป็น หนึ่งในนั้น (อิอิ แอบชงให้ตัวเองนิดนึง) วันนี้ครูเอ็มเลยมีสาระดีๆ เกี่ยวกับดนตรีกับการพัฒนาการต่อเด็กมาฝากครับ โดยวันนี้จะหยิบเกร็ดงานวิจัย เรื่อง "โมซาร์ท เอฟเฟค" มาเป็นหลักอ้างอิงเพียงส่วนหนึ่งนะครับ แต่จริงๆแล้ว ยังมีวิธีการพัฒนาด้วยเสียงดนตรีต่อลูกน้อย ซึ่งครูเอ็มจะหยิบยกมาให้ความรู้ในวันหลังครับ

           ดร.ฟรานซิส เราน์เคอร์ เจ้าของงานวิจัย “Mozart Effect” ที่ค้นพบว่าเพลงของโมซาร์ททำให้สติปัญญามนุษย์ในส่วนของมิติสัมพันธ์เพิ่มขึ้น โดยงานวิจัยชิ้นนี้ไม่ได้บังคับให้ทุกคนฟังเพลงของโมซาร์ท และไม่ต้องการให้ยึดติดกับคำว่าโมซาร์ท เพราะดนตรีแต่ละท้องถิ่นต่างก็มีอิทธิพลต่อคนฟังทั้งสิ้น แต่หากต้องการการพัฒนาด้านการรับรู้นั้น คุณพ่อ คุณแม่จะต้องให้เด็กคุ้นเคยกับดนตรีต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 2 ปี และต้องเริ่มก่อนเด็กอายุ 7 ขวบ เพราะเป็นช่วงที่สมองจะมีการเชื่อมโยง และแตกแขนงในส่วนที่ใช้งานเพื่อการพัฒนาได้ดี

        ดร.ฌอน ฮินตัน นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องบทบาทของดนตรีที่มีผลต่อโครงสร้าง และการทำงานของสมองมนุษย์ ได้เปรียบเทียบว่านักดนตรีที่ได้มีการฝึกฝนมาตั้งแต่เด็กก่อนวัย 7 ขวบ จะมีเยื่อประสาทใหญ่กว่าของคนที่ไม่ใช่นักดนตรี ส่วนในเพลงโมซาร์ทนั้นเป็นดนตรีคลาสสิกที่เหมือนสมการเลขเชิงคณิตศาสตร์มีมุมมอง ความกว้าง ยาว สูง และช่วงเวลา โดยอธิบายออกมาทางตัวโน๊ตดนตรีได้อย่างสลับซับซ้อนแต่ลงตัว 

       อย่างที่บอกไปในข้างต้นนะครับ ว่างานวิจัยชิ้นนี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งต่อการพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยนะครับ บางคนก็ให้ลูกฟังโมซาร์ทตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ บางคนก็กล่อมด้วยเพลงโมซาร์ทตอนทารก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ครูเอ็มว่าหากขึ้นชื่อว่าเป็นเสียงดนตรี ไม่ว่าจะเป็นเพลงใดหากฟังหรือฝึกซ้อมเล่นเอง ก็ย่อมเป็นที่จรรโลงใจ ฝึกสมาธิและการพัฒนาการเป็นอย่างดีแน่นอนครับ

Visitors: 69,418