เกร็ด Guitar zeed 39





เกร็ด Guitat Zeed 39

      สวัสดีนักดนตรีที่กำลังจะเก่งกันทุกๆคนนะครับ พูดถึงความรู้ด้านปฏิบัติที่ครูมีให้ใน ทุกชม.แล้ว ถ้าเรารู้ถึงสาระแก่นลึกๆบางประการของดนตรีด้วย ก็จะยิ่งมีประโยชน์ใช่มั้ยครับ วันนี้เนื้อหาก็คือเรื่องของเพลงที่เราได้ยินกันเป็นประจำแหละครับ และดนตรีต่างๆตามงานตามโอกาสที่บรรเลง จริงๆแล้วมันได้ถูกแบ่งประเภทไว้หมดแล้วครับ โดยถ้าเป็นเนื้อหา ระดับมหาลัยมันคงลึกซึ้งมากทีเดียว วันนี้ครูเอ็มได้นำมาเล่าสู่กันฟังอย่างย่อๆนะคร้าบบบ

     โดยดนตรีที่อยู่รอบตัวเราเนี่ย...เราสามารถแบ่งแยกประเภทของดนตรีออกได้คือ ดนตรีศิลป์ ดนตรีพื้นบ้าน และดนตรีสมัยนิยม

 

      1. ดนตรีศิลป์ (Arts Music)

 เป็นดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นอย่างมีระเบียบแบบแผน โดยผู้ประพันธ์มีความตั้งใจและได้ศึกษาดนตรีอย่างลึกซึ้ง ดนตรีประเภทนี้เป็นการสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้เห็นถึงความสวยงามของศิลปะดนตรีซึ่งเป็นโสตศิลป์  เช่น ดนตรีกางากุในราชสำนักของญี่ปุ่น ดนตรีฮินดูสถานและดนตรีกานาตักของอินเดีย ดนตรีกาเมลันของอินโดนีเซีย ดนตรีไทยเดิมของไทย เป็นต้น

  1. ดนตรีพื้นบ้าน (Folk Music)

 คือ ดนตรีที่มีมาแต่ดั้งเดิมในทุกกลุ่มวัฒนธรรมทั่วโลก แม้แต่ในประเทศเดียวกันอาจจะมีดนตรีพื้นบ้านที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้านมีทั้งลักษณะที่เป็นการบรรเลงของเครื่องดนตรีเพียงอย่างเดียว หรือการขับร้องประกอบการบรรเลง หรือการขับร้องเพียงอย่างเดียว โดยแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ของแต่ละเชื้อชาติ

  1. ดนตรีสมัยนิยม (Popular Music)

ดนตรีสมัยนิยมน่าจะให้คำจำกัดความได้ว่าหมายถึง ดนตรีที่ได้รับความนิยมในสังคมส่วนใหญ่ของกลุ่มชนหรือเชื้อชาติต่างๆตามยุคสมัยนั้นๆ  นอกจากนี้ยังได้มีการผสมผสานทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นอีกด้วย เช่น แนวดนตรีสมัยใหม่ที่มีการนำเอาแนวดนตรีในอดีตมาผสมผสานกับแนวดนตรีในปัจจุบัน หรือการนำเอาดนตรีของวัฒนธรรมอื่นมาผสมผสานกัน ซึ่งเรียกกันว่าดนตรีร่วมสมัย เป็นต้น

 

       อ่านมาถึงตรงนี้คงจะงงใช่มั้ยครับ ว่าสาระวันนี้จะสื่อเพื่อ??? นั่นน่ะสิ สมัยเราเป็นนักศึกษาดนตรีเรายังแอบบ่นกับเพื่อนเลยว่าจะเรียนเพื่อ??? แต่ก็เอาเถอะครับ ถ้าพวกเราหลงกลอ่านมาถึงตรงนี้แสดงว่าวันนี้เราก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมาอีกเรื่องก็คงไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรใช่มั้ยครับ อิอิ แล้วเจอกันคร้าบบบ ชิ่งก่อนล่ะ มาแบบกวนๆ จบแบบกวน

Visitors: 69,425