เกร็ด Guitar zeed 20


เกร็ด Guitar Zeed 20

    สวัสดีครับ เหล่ามือกีตาร์แห่งสำนัก Guitar Zeed ทุกท่าน วันนี้ครูเอ็มมีเกร็ดความรู้ที่ใกล้ตัวมากกกก แต่ทุกคนคงมองข้ามมาฝากกันครับ...นร. รู้ไหมครับ ว่าเพลงชาติไทยนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ??? ถ้านร. จำไม่ผิด เกร็ดที่แล้ว ครูเอ็มได้พูดถึงบุคคลสำคัญด้านดนตรีในสมัยรัชกาล 6 มาบ้างแล้วใช่ไหมครับ วันนี้ครูเอ็มจะมาขยี้มุขให้นักเรียน สนุกและได้ความรู้เข้าไปอีกนะฮะ.

      ใช่แล้วครับ เพลงชาติไทยของเรานั้น พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยากร) ผู้ประพันธ์ทำนองเพลงชาติ และขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงชาติฉบับแรกสุด ซึ่งที่มาของทำนองเพลงชาติปัจจุบันนั้น จากบันทึกความทรงจำของพระเจนดุริยางค์ ได้เล่าไว้ว่า ราวปลายปี พ.ศ. 2474 เพื่อนนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งของท่าน คือ หลวงนิเทศกิลกิจ ได้ขอให้ท่านแต่งเพลงสำหรับชาติขึ้นเพลงหนึ่ง ซึ่งพระเจนดุริยางค์ได้บอกปฏิเสธ เพราะถือว่าเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงชาติอยู่แล้ว ทั้งการจะให้แต่งเพลงนี้ก็ยังไม่ใช่คำสั่งของทางราชการด้วย แม้ภายหลังหลวงนิเทศกลกิจจะมาติดต่อให้แต่งเพลงนี้อีกหลายครั้งก็ตาม พระเจนดุริยางค์ก็หาทางบ่ายเบี่ยงมาตลอด เพราะท่านสงสัยว่าการขอร้องให้แต่งเพลงนี้เกี่ยวข้องกับการเมือง ประกอบกับในเวลานั้นก็มีข่าวลือเรื่องการปฏิวัติอย่างหนาหูด้วย

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ผ่านไปได้ประมาณ 5 วันแล้ว หลวงนิเทศกลกิจ  ได้กลับมาขอร้องให้ท่านช่วยแต่งเพลงชาติอีกครั้ง โดยอ้างว่าเป็นความต้องการของคณะผู้ก่อการ ท่านเห็นว่าคราวนี้หมดทางที่จะบ่ายเบี่ยง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในเวลานั้นอยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ จึงขอเวลาในการแต่งเพลงนี้ 7 วัน และแต่งสำเร็จในวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ตนได้กำหนดนัดหมายวันแต่งเพลงชาติไว้ ขณะที่นั่งบนรถรางสายบางขุนพรหม-ท่าเตียน เพื่อไปปฏิบัติราชการที่สวน มิสกวัน จากนั้นจึงได้เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับให้วงดุริยางค์ทหารเรือบรรเลง พร้อมทั้งกำชับว่าให้ปิดบังชื่อผู้แต่งเพลงเอาไว้ด้วย.

       เสริมความรู้อีกนิดๆ ด้วยเกร็ดขำๆนะครับ ว่ากันว่าในวันสุดท้ายตามวันนัดที่ต้องเตรียมส่งเพลงนั้น พระเจน ดุริยางค์ยังคิดทำนองเพลงไม่ออกนพครับ แค่จากเหตุการณ์บนรถไฟนั่นล่ะครับ ที่ทำให้พระเจน ดุริยางค์ปิ๊งไอเดียเพลงชาติขึ้นมา โดยท่านได้นำทำนองเพลง A B C ที่หนูๆทั้งหลายเคยร้องเล่นกัน +กับจังหวะ ฉึกกะฉัก ของรถไฟนั่นล่ะครับ

 ถ้าคิดดูดี นักเรียนลองทาบเนื้อร้องท่อน

"A B C D E F G" จะกลายเป็นประโยคที่ว่า "ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย"

ส่วน "H I J K L M N O P" จะกลายเป็น "เป็นประชารัฐ ผไทของไทยทุกส่วน"

แล้วลองร้องเพลงนี้มิกซ์เป็นจังหวะ ฉึกกะฉักปู๊นๆ ดูนะฮะ

 

**ย้ำนะครับว่าเป็นเกร็ดขำๆ ที่สมัยครูเอ็มเรียนมหาลัย ท่านอาจารย์ได้เล่าต่อๆกันมา แหม่...แต่ถ้าเป็นจริงนี่ต้องขอบคุณรถไฟขบวนนั้นเลยนะคร้าบบบ**

Visitors: 69,418